วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาชีพในอนาคตของฉัน


อาชีพในอนาคตของฉัน



โตขึ้นอยากเป็นอะไรเป็นหนึ่งในคำถามที่ฉันได้ยินมากที่สุด ในตอนเด็กๆ ฉันก็ตอบไปตามประสา รู้จักอาชีพไหนน่าสนใจ ก็อยากจะเป็นอย่างนี้แล้วกัน ไม่ได้คิดจริงจังอะไร อาชีพที่ฉันอยากเป็นก็คือ ครู ฉันเฝ้ามองคุณครูที่น่ารักและห่วงใยลูกศิษย์อย่างจริงใจ ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา เป็นเหมือนแม่คนที่สองของฉันจริงๆ ฉันคิดว่าเป็นครูก็คงจะดีเหมือนกัน ฉันชอบคุณครูที่ใจดี ใจเย็น ฉันจะรู้สึกมีความสุขเสมอเมื่อคุณครูสอน แต่เมื่อฉันโตขึ้น ฉันได้ผ่านประสบการณ์มากขึ้น ค้นพบสิ่งต่างๆ ฉันเริ่มคิดว่า ฉันอยากเป็นครูจริงหรือ ? ฉันเริ่มตอบตัวเองว่าไม่ใช่ ฉันประทับใจในอาชีพครู แต่ฉันคิดว่าฉันคงไม่มีความอดทนพอที่จะทำได้ ฉันจึงเริ่มถามตัวเองใหม่ว่าฉันอยากจะเป็นอะไร ???  คำตอบที่ได้มันดูจะธรรมดา ฉันอยากเป็นพนักงานธรรมดาๆคนหนึ่ง หรือรับราชการ มันฟังดูไม่มีแรงบันดาลใจอะไรเลย ฉันคิดว่ามันก็จริงอยู่ แต่เพราะสิ่งที่ฉันต้องการจริงๆ คือ การได้งานที่มั่นคงทำ ได้เงินเดือนที่เลี้ยงชีพได้ ฉันอยากทำให้พ่อแม่สบาย อยากจะพาพวกท่านไปเที่ยว อยากให้พวกท่านอยู่อย่างสบายใจ ฉันคิดว่าถ้าฉันตั้งใจทำงาน ฉันก็จะสามารถเลื่อนตำแหน่งได้เรื่อยๆ ฉันหวังไว้อย่างนั้น ไม่ว่าจะอย่างไรฉันคิดว่าโลกนี้ยังมีอีกหลายอย่างที่ฉันยังไม่รู้จัก ฉันจะค้นหาไปเรื่อยๆว่าอาชีพที่เหมาะสมกับฉันคืออะไรกันแน่ แต่ตอนนี้ฉันหวังแต่เพียงว่าฉันจะทำให้พ่อและแม่ภูมิใจในตัวฉันให้ได้  แม้ฉันยังมองอนาคตของฉันไม่ชัดเจน แต่ฉันก็ตั้งใจมั่นไว้ว่าจะประกอบอาชีพสุจริตจะทำให้พ่อและแม่ภูมิใจ จะตอบแทนพระคุณของท่านให้ดีที่สุดอย่างแน่นอน

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์


เทคนิคการสอบสัมภาษณ์  

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์มีดังนี้ค่ะ
1.การเตรียมตัวก่อนวันไปสัมภาษณ์
·         เตรียมเอกสารส่วนตัวให้เรียบร้อย จัดลงในแฟ้มสะสมผลงาน หรือ PORTFOLIO ให้เป็นระบบ ตัวอย่างเอกสาร เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติการเรียน ผลการเรียน การร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การประกวดแข่งขัน ผลงานและรางวัลต่าง ๆ รูปภาพ ฯลฯ
·         ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย คณะ และสาขาวิชาที่สมัครเข้าศึกษา รวมทั้งติดตามข่าวสารความรู้ทั่วไปในปัจจุบัน
·         ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ไปสัมภาษณ์ การเดินทาง ระยะทาง ตึก-ห้องที่จะสัมภาษณ์ ควรจะเผื่อรถติดด้วย
·         พักผ่อนให้เพียงพอ ควรงดการรับประทานอาหารรสจัด
·         อย่าลืมเตรียมปากกาไปด้วย
2. วันสอบสัมภาษณ์
·         แต่งกายเครื่องแบบนักเรียนที่สะอาด เรียบร้อย นักเรียนชายผมสั้น นักเรียนหญิงถ้าผมยาวให้รวบผมติดกิ๊บให้เรียบร้อย ไม่แต่งหน้า ไม่ใส่น้ำหอม และไม่ใส่เครื่องประดับใดๆ นอกจากนาฬิกา
·         รับประทานอาหารเช้า ทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย
·         ไปถึงห้องสอบก่อนเวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที เข้าห้องน้ำ นั่งรอหน้าห้องด้วยความสบายใจ ไม่คุยเสียงดัง ไม่เล่น ให้นั่งรอเรียกชื่อด้วยความสงบ ถ้าตื่นเต้นให้หายใจยาวๆ
·         ปิดโทรศัพท์มือถือ
3. การเข้ารับการสัมภาษณ์
·         เมื่อถูกเรียกชื่อให้เดินไปด้วยอาการสงบ ไม่ต้องตื่นเต้นมาก คิดว่า เราทำได้
·         ถ้ามีประตูให้เคาะประตูก่อน ถ้าไม่มี ให้เดินไปที่หน้าโต๊ะกรรมการสัมภาษณ์ และไหว้ด้วยท่าทีที่อ่อนน้อม กรณีที่มีผู้สัมภาษณ์หลายคนให้ทำความเคารพครั้งเดียว โดยยืนตำแหน่งตรงกลางหน้าโต๊ะกรรมการ
·         นั่งลงเมื่อกรรมการบอกให้นั่ง พร้อมทั้งกล่าวคำขอบคุณ ให้นั่งด้วยท่าทีที่สุภาพ ไม่นั่งไขว่ห้าง กระดิกขา หรือโยกตัว ให้ประสานมือไว้ข้างหน้า สบตาผู้สัมภาษณ์ (ไม่จ้องตานะคะ)
·         ตอบคำถามด้วยความมั่นใจ มีน้ำเสียงที่ดังพอสมควรไม่ค่อยเกินไป
·         ภาษาที่ใช้ควรจะเป็นภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่พูดภาษาไทยคำอังกฤษคำ ไม่ใช้ศัพท์เฉพาะของวัยรุ่น ควรจะลงท้าย ค่ะ ครับทุกครั้งที่ตอบคำถาม
·         การแสดงความคิดเห็นควรจะเน้นความมีเหตุผล ไม่มีอคติหรือตอบในแง่ลบ
·         ไม่ถ่อมตนจนเกินไป ไม่คุยโอ้อวดหรือแสดงความมั่นใจจนเกินไป นอกจากเป็นคำถามที่ตนเองมีความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น มีทักษะด้านหุ่นยนต์ หรือ ดนตรีไทย ก็สามารถอธิบายได้ด้วยความมั่นใจ
·         คำถามบางคำถามอาจจะตอบไม่ได้ ไม่ต้องตกใจ ให้บอกว่าไม่ทราบ แล้วจะไปหาข้อมูลเพิ่มเติม (แต่ไม่ใช่ไม่ทราบทุกคำถามนะคะ)
4. การยุติการสัมภาษณ์
·         เมื่อสิ้นสุดการสัมภาษณ์ให้ทำความเคารพกรรมการผู้สัมภาษณ์ด้วยท่าทีที่อ้อนน้อม เป็นอันเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ค่ะ คราวนี้ก็รอลุ้นการประกาศรายชื่อนะคะ
5. คำถามหรือคำพูดที่มักจะพบในการสอบสัมภาษณ์
·         ไหนลองแนะนำตัวหน่อยสิครับ
·         ทำไมถึงเลือกเรียน สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัยนี้
·         ทราบไหมว่าสาขาวิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร
·         คิดว่าสาขาวิชาที่เลือกเมื่อจบแล้วจะประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
·         คิดว่าตนเองเหมาะสมกับสาขาวิชานี้อย่างไร
·         บางท่านอาจจะถามข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดที่เราอยู่ เช่น ชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด คำขวัญของจังหวัด จุดเด่นของจังหวัด ฯลฯ ชอบ/ไม่ชอบวิชาอะไร
·         อนาคตอยากจะประกอบอาชีพอะไร
·         ให้พูดถึงข้อดี/ข้อเสียของตนเอง
·         ถ้าเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษา หรือแผนการเรียนที่นักเรียนเรียนจบมา อาจจะมีการสัมภาษณ์เป็นภาษานั้น หรือ ให้พูดภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส หรือ เยอรมัน ให้ฟัง เป็นต้น
·         บางครั้งอาจจะมีคำถามยั่วยุ หรือสบประมาท ให้ตอบคำถามด้วยความใจเย็น และมีเหตุผล และที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าสถานะการณ์การสัมภาษณ์จะกดดันความรู้สึกอย่างไรก็ขอให้นักเรียนยิ้มไว้เป็นดีที่สุดค่ะ


ความประทับใจในโรงเรียนบางละมุง


สิ่งภูมิใจในโรงเรียนบางละมุง คือ การที่ได้เป็นนักเรียนของโรงเรียนบางละมุง ได้เป็นส่วนหนึ่งในรั้วชมพู-ขาว ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพราะโรงเรียนบางละมุงเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี เป็นโรงเรียนหนึ่งที่ทำให้ดิฉันได้เห็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยมีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายทำให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียนมาก สมกับเป็นโรงเรียนในฝันซึ่งนอกจากที่โรงเรียนแห่งนี้จะให้ความรู้แก่นักเรียนแล้วยังให้เพื่อนให้มิตรภาพที่ดีแก่ดิฉัน และต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่สอนให้ศิษย์ทุกคนให้เป็นคนดี ให้การเอาใจใส่และดูแลเป็นอย่างดี ให้ความรู้และให้คำแนะนำในทุกๆเรื่อง ตลอดระยะเวลา 6 ปี ได้อะไรหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นมิตรภาพ ความรัก ความสนุก และความทรงจำดีๆ ได้ทั้งประสบการณ์และความรู้มากมาย สิ่งเหล่านี้ได้สอนอะไรให้กับเรา ทำให้เราโตขึ้น คิดอะไรได้หลายอย่าง


วันหนึ่งที่ฉันเที่ยว


วันหนึ่งที่ฉันเที่ยว
                   เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ..2556  เป็นวันที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนจะได้ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ซึ่งที่ที่ไปก็คือ ดรีมเวิลด์ ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดให้มีการทัศนศึกษาขึ้น เพื่อคลายความเครียดหลังจากการสอบกลางภาคให้กับนักเรียนทุกคน
     บรรกาศเริ่มต้นด้วยความสนุกสนาน เมื่อทุกคนรวมตัวกันตอนเช้า แล้วก็ขึ้นรถที่ทางโรงเรียนจัดเตรียมไว้ให้ พร้อมกันนั้นก็พากันมุ่งตรงไปสวนสนุก ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้แก่นักเรียนทุกคนเป็นอย่างมาก
     สวนสนุกดรีมเวิลด์มีเครื่องเล่นมากมาย มีแบบตื่นเต้นหวาดเสียวสำหรับผู้ใหญ่และเด็กโต และเครื่องเล่นสำหรับเด็กที่ตื่นเต้นหวาดเสียวเหมาะสำหรับผู้ใหญ่และเด็กโต ได้แก่ สกายโคสเตอร์ เฮอริเคน เรือไวกิ้ง โกคาร์ท และสุดยอดเครื่องเล่นใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเข้าประจำการได้ไม่นาน คือ ทอร์นาโด ใครที่เคยเล่นไวกิ้งและเฮอริเคนมาก่อน สวนสนุกดรีมเวิลด์การันตีว่า เสียวกว่าไวกิ้งและสวิงกว่าเฮอริเคน และอีกหนึ่งเครื่องเล่นที่ขอแนะนำคือ 4D แอดเวนเจอร์ สนุกสนาน ตื่นเต้นกับนักวิทยาศาสตร์จอมป่วนเหมือนอยู่ในเหตุการณ์กับสเปเชียลเอฟเฟกต์ 4D ที่ใครได้ลองแล้วต้องอยากเข้าไปเล่นอีกรอบ  สำหรับทุกๆคนก็สามารถสนุกสนานได้โดยเย็นชุ่มฉ่ำไปกับซูเปอร์ สแปลช แกรนด์แคนยอน หรือจะสัมผัสความหลอนกับปราสาทผีสิง ชมบ้านยักษ์ เมืองเทพนิยาย และย้อนยุคนั่งรถคุณปู่ และไฮไลท์ยังคงเป็นเมืองหิมะ หนาวสุดขั้ว สัมผัสหิมะแห่งเดียวในเมืองไทย นอกจากนี้ยังมีเครื่องเล่นอีกมากมาย เช่น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก หนูลมกรด จักรยานน้ำ เรือปั๊ม วิหกสายฟ้า โมโนเล เคเบิลคาร์ ฯลฯ  ซึ่งเครื่องเล่นทุกชนิดได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
     สำหรับกิจกรรมทัศนศึกษาที่ดรีมเวิลด์นักเรียนที่มารู้สึกสนุกกันมาก ประทับใจมากและดีใจมากที่ได้ไปดรีมเวิลด์ในครั้งนี้ มีเครื่องเล่นมากมายให้เลือกเล่น  มีสถานที่ที่ให้ถ่ายรูป 


.6/5


ขณะเดินทาง ก็ขอถ่ายรูปสักหน่อย


เมื่อมาถึงดรีมเวิลด์สิ่งแรกก็ขอประเดิมด้วยแร๊ฟเตอร์กันเลย


 แวะถ่ายรูปกับเรือไททานิก


ก่อนที่จะไปเล่นหนูลมกรด ก็ขอถ่ายรูปบ้างอะไรบ้าง


 
หนูลมกรดเป็นอะไรที่สนุกมาก  โปรดสังเกตใบหน้าของแต่ละคน


ประลองความหนาวสุดขั้วกับเมืองหิมะ (เป็นอะไรที่หนาวมาก !!!)


ระหว่างทางก่อนกลับก็ขอถ่ายรูปอีกสักนิดนึง 

เพื่อนของฉัน



My Friend (เพื่อนของฉัน)

คนที่  1
ชื่อ นางสาวหยกฟ้า    วาลีประโคน  (มอส)
เธอคนนี้เป็นคนที่มีโลกส่วนตัวสูงมากและเป็นคนที่ชอบอะไรแปลกๆ แตกต่างและแหวกแนวไปจากคนอื่น เธอแปลกมาก!!! แปลกจนไม่เหมือนผู้หญิง ส่วนนิสัยของเธอก็จะเป็นคนที่ตลกเฮฮามาก ๆ แต่อย่าให้เธอคิดมากหรือเครียดขึ้นมาล่ะ เธอจะกลายเป็นอีกคนเลยทีเดียวเชียว

คนที่  2
ชื่อ นางสาวชญานิศา    อ่อนพินา  (นิว)
เธอคนนี้เป็นคนที่เก่งทางด้านเทคโนโลยีมากรวมถึงเรื่องความรักและเรื่องความสวยความงาม เธอเป็นคนที่เฮฮา ร่าเริง และจะน่ารักมากๆ เวลาเต้น เธอเป็นคนที่ชอบดองงาน !!! แต่มีเรื่องอะไรสามารถปรึกษาเธอได้

คนที่  3
ชื่อ นางสาววิจิตรา    ปอยสูงเนิน  (มายด์หรือกี้)
เธอคนนี้เป็นคนที่ตลก เฮฮา หัวเราะได้ทุกเวลา แต่บางทีก็ชอบพูดจากวนนิดๆ เป็นคนที่ชอบพูดอะไรตรงๆ ขี้โมโห ขี้วีน  ขี้เหวี่ยง แบบเบา เบา  ชอบจู้จี้ ขี้บ่น เหมือนแม่  อย่าทำอะไรขัดใจเธอเด็ดขาดเลยเชียว !!!



คนที่  4
ชื่อ นางสาวกรกมล    สมบรูณ์  (มิน)
เธอคนนี้เป็นคนที่รักสวยรักงามมากๆ (มากถึงมากที่สุด !) ให้เธอว่างไม่ได้เลย เธอจะมัดผมได้ตลอดเวลาที่เธอว่าง หรือไม่ก็เสริมสวยอย่างอื่น ฉายาของเธอเยอะมาก!!! แต่เธอก็เป็นคนที่สวย จมูกโด่ง ผมยาว ผมสวย ตาคม  หุ่นดี  แต่ตูดไม่มี นมก็น้อย (ไข่ดาว) เธอเป็นคนที่โก๊ะๆ ตลก เฮฮา ชอบเล่าเรื่องตลกๆ ให้เพื่อนๆได้หัวเราะกันทุกๆวัน


คนที่  5
นางสาวนิชาภา    แก้วประดิษฐ์  (ฟิลม์)
เธอคนนี้เป็นคนที่ไม่ค่อยชอบถ่ายรูปสักเท่าไหร่ หารูปเดี่ยวเธอได้ยากมาก ! เธอเป็นคนที่ดูภายนอกออกจะนิ่งๆ เงียบๆ ขรึมๆ เรียบร้อยหน่อย แต่ลึกๆแล้วเธอเป็นคนที่มีอะไรมากกว่านั้น เธอเป็นคนที่ฮามากอีกคน และเธอก็ติดหนังเกาหลีมากๆๆ เธอเป็นคนที่เก่งและฉลาดมากเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คำพูดของเธอ “ เรียบๆแต่หรูหรา ”

Bleanded Learning


Bleanded Learning 
 Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน
         เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
         การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน
"Blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม"
         การเรียนแบบผสมผสาน Blended learning การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ รวม รูปแบบการเรียนการสอน รวม วิธีการเรียนการสอน รวม การเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนการเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามาสู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีกด้วย
ข้อดี-ข้อจำกัด 
การเรียนแบบผสมผสานสรุป Blended Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน ความหมายและความสำคัญ
1. การเรียนแบบผสมผสาน (blended learning) เป็นการเรียนที่ใช้กิจกรรมที่ต้องออนไลน์และการพบปะกันในห้องเรียนจริง (hybrid) โดยใช้สื่อที่มีความหลากหลายเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่าง ๆ มาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น การเรียนอาจจะเรียนในห้องเรียน 60% เรียนบนเว็บ 40% ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องผสมผสานกันเท่าใด เช่น- รวม รูปแบบการเรียนการสอน- รวม วิธีการเรียนการสอน- รวม การเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน
3. การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากัน จาก 2 รูปแบบ
    3.1 สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียน
   3.2 การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามาสู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วม ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีกด้วย
สรุป
1. การเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะด้านการปฏิบัติ (Practice Skill )โดยใช้เทคโนโลยี เช่น การเรียนการสอนในชั้นเรียนร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์(a combination of face-to-face and Onine Learning) การเรียนแบบหมวก 6 ใบ, สตอรี่ไลน์ จุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่ผู้เรียน โดยอัตราส่วนการผสมผสาน จะขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหา และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กรณี - ครูผู้สอนสั่งงานทาง e-mail หรือ chatroom หรือ webbord ถือเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน- ครูสั่งให้ส่งงานเป็นรูปเล่มรายงานถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเช่นกัน เพราะต้องไปค้นคว้าสืบค้นข้อมูลและนำมาอภิปราย สรุป เนื้อหาเป็นแนวเดียวกัน ผู้เรียนทุกคนเข้าใจตรงกัน
2. การใช้งานจริง ณ ขณะนี้ สรุป การใช้ Blended Learning ในองค์กร หรือบริษัท ช่วยในการประชุม การสั่งงาน โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบเครือข่าย ส่วนมาก นิยมใช้ระบบ LMS เป็นระบบการบริหาร ผ่าน Sever เป็นระบบเครือข่ายผู้ใช้งานในระบบ
   2.1 กลุ่มผู้บริหาร Administrator ทำหน้าที่ดูแลระบบ
   2.2 กลุ่ม ครู อาจารย์ Instructor/ teacher ทำหน้าที่สอน
   2.3 กลุ่มผู้เรียน Student /Guest นักเรียน นักศึกษาสำหรับขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบการพิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป ได้แก่
   1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน
   1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
   1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสานผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรก จะเป็นรายงานผลที่จะนำไปใช้ในขั้นต่อไป
2. ขั้นการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources) เป็นขั้นตอนที่สองที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรกมาออกแบบกิจกรรมและวัสดุการเรียนรู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ได้แก่
   2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย
กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน
กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน
ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน
   2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย
นิยามผลการกระทำของผู้เรียน
กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์
การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด
การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน
   2.3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย
การเลือกสรรเนื้อหาสาระ
การพัฒนากรณีต่าง ๆ
การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน
3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย
   3.1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้
   3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร
   3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกดประสิทธิผลกับผู้เรียนอย่างแท้จริง
ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน
การเรียนรู้แบบผสมผสานมีสิ่งต่างๆจะต้องพิจารณา ดังนี้
1. เพิ่มทางเลือกของวิธีการนำส่งการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ออกแบบ
2. เกณฑ์การตัดสินความสำเร็จในการเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ได้มีเพียงเกณฑ์เดียว เช่น รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้
3. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องพิจารณาประเด็นของความเร็วในการเรียนรู้ ขนาดของผู้เรียน และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียน
4. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของผู้เรียน จะมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ
5. หน้าที่ของผู้เรียน จะต้องศึกษาและค้นพบตัวเอง เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ตามศักยภาพของตนเอง
6. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานต้องการทีมงานออกแบบที่มีความรู้เรื่องการปรับปรุงด้านธุรกิจด้วย เช่นกัน
การเรียนการสอนทางไกลของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ถือว่าเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานเช่นกัน
คอร์สการเรียนภาษาอังกฤษทางไกล ของ แอนดรูส์ บิ๊ก ที่ใช้ระบบ(Bkended Learning for Distance Learning) ซึ่งสามารถสอนนักเรียนพร้อมกันทีเดียวได้เป็นพันคน
 3. ประโยชน์ ข้อดี และข้อจำกัด
ประโยชน์ ข้อดี
1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่)
10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่)
11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่)
12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่)
13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง
16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้

 ข้อจำกัด
1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว
2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์
3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน
4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง)
5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ
11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to faec (เรียลไทม์)
ความเป็นไปได้ในการไปใช้งานจริงของ Blened Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
1. มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค ICT ทำให้มีการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี เช่น 2 วิธี หรือมากกว่านั้นได้
2. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ e-Learning
3. สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานศึกษา เช่น โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย รวมไปถึง บริษัท องค์กร ต่าง ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณและต้นทุน
4. เป็นไปได้หรือไม่ในการนำไปใช้งานได้จริงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมขององค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์ ผู้เรียน และผู้สอน
ที่มาของข้อมูล http://bunmamint10.blogspot.com/

การสอนแบบผสม Mixed Method
วิธีสอนแบบผสมผสาน
ในการสอนผู้สอนย่อมกำหนดจุดประสงค์ไว้หลายด้าน ทั้งด้านความรู้เจตคติ และ
ทักษะ ถ้าผู้สอนใช้วิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งวิธีเดียว อาจไม่สามารถสนองตอบจุดประสงค์ทุกด้านได้ ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่ผู้สอนต้องรู้จักเลือกใช้วิธีสอนหลายๆ วิธีอย่างผสมผสานกัน นอกจากนี้วิธีมีข้อดีและข้อจำกัดในตังเอง ผู้สอนต้องเลือกใช้ให้สอดคล้องเหมะสมกับสถานการณ์ผู้เรียนและเนื้อหาวิชา บางครั้งบางชั่วโมงอาจต้องเลือกใช้หลายวิธีอย่างผสมผสานกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การผสมผสานวิธีสอนหลาย0 วิธีเข้าด้วยกัน จะช่วยให้การเรียนการสอนสุก น่าสนใจ และเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนให้ดีขึ้น (อาภรณ์  ใจเที่ยง. 2540 :134-139)
1.ความหมายของการสอนแบบผสมผสาน
การสอนแบบผสมผสาน หมายถึง การสอนที่ผู้สอนนำวิธีการสอนหลายๆวิธีมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
2.ความมุ่งหมายของการสอนแบบผสมผสาน
1.เพื่อสนองจุดประสงค์การสอนทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ เจตคติ และทักษะ ถ้าใช้วิธีสอนเพียงวิธีเดียว อาจไม่สามารถครอบคลุมจุดประสงค์ทั้ง 3 ด้านได้ เพราะการสอนแต่ละวิธีย่อมมีจุดมุ่งหมายเฉพาะแต่ละอย่างไป
2.เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดเฉพาะตน  ซึ่งแต่ละคนมีแตกต่างกัน การใช้วิธีสอนหลายๆ วิธีผสมผสานกัน จะช่วยให้ผู้เรียนได้คุ้นเคยหรือถนัดกับกิจกรรมการสอนหลายๆ แบบ
3.เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ความสนใจของผู้เรียนนั้นไม่คงที่ตลอดชั่วโมงหรือตลอดเวลาของการสอน และมีลักษณะที่จะเหนื่อยและเบื่อหน่ายในตอนท้ายชั่วโมง การเปลี่ยนวิธีสอนจะเป็นการเรียกร้องความสนใจให้กลับมาอีกครั้งหนึ่งได้
4.เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนให้น่าสนใจขึ้น การใช้วิธีสอนหลายๆ แบบทำให้ผู้เรียนได้ตื่นตัว เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน ไม่เกิดความเบื่อหน่าย ขณะเดียวกันทำให้ผู้สอนได้เลือกใช้วิธีสอนที่เหมาะสมกับตนเอง เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศของผู้สอนเองด้วยพร้อมกันไป

3.รูปแบบการผสมผสานวิธีสอน
รูปแบบการผสมผสานวิธีสอนจัดทำได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
   1.ผสมผสานเป็นรายชั่วโมง หรือรายคาบ
   2.ผสมผสานเป็นรายสัปดาห์
   3.ผสมผสานเป็นรายเดือนและรายภาค
แต่ละลักษณะมีรายละเอียดดังนี้
1.การผสมผสานเป็นรายชั่วโมงหรือรายคาบ
คำว่า รายชั่วโมงหรือรายคาบ หมายถึง รายครั้งที่มีการสอน เช่น เวลา 2 คาบ ลักษณะการผสมผสานทำได้ 3 ลักษณะ โดยถือเอาการสอนแบบบรรยายเป็นการสอนหลักมีดังนี้ (ไพฑูรย์  สินบารัตน์ 2534 : 149-153)
   1.1 การบรรยายเริ่มต้นชั่วโมง  เมื่อผู้สอนได้บรรยายไปพอสมควรและเห็นว่า ห้องเรียนจะมีอาการน่าเบื่อหน่าย ก็อาจจะเปลี่ยนวิธีการด้วยการให้ผู้เรียนอภิปรายหรือทำงานเป็นรายบุคคลได้
   1.2 การบรรยายอยู่กลางชั่วโมง บางครั้งอาจใช้การบรรยายไว้กลางชั่วโมง แล้วเริ่มต้นหรือปิดท้ายด้วยวิธีการอื่นๆ แต่ควรบรรยายสรุปก่อนเลิก
   1.3 การบรรยายไว้ท้ายชั่วโมง ในการสอนโดยทั่วไป ไม่จำเป็นจะต้องบรรยายก่อนแต่อาจเริ่มต้นด้วยกิจกรรมอื่นๆ ก่อน แล้วปิดท้ายด้วยการบรรยายก็ได้รูปแบบและกิจกรรมที่ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่างนี้ เป็นเพียงตัวอย่างและกิจกรรมเนอแนะเท่านั้น ผู้สอนย่อมจะปรับปรุงเวลาและกิจกรรมได้แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้สอน ผู้เรียน เวลา และวิชาที่สอนนั้นๆ
2.การผสมผสานเป็นรายสัปดาห์
การผสมผสานเป็นรายสัปดาห์ในที่นี้หมายถึง การสอนที่ใจหนึ่งสัปดาห์มีการสอนตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป การสอนแต่ละครั้งอาจจะเป็น 1 ชั่วโมง หรือ 2 ชั่วโมงก็ได้รูปแบบของการผสมผสานอาจทำได้ 3 ลักษณะเช่นกัน คือ
   2.1ใช้วิธีการสอนแบบเดียวตลอดชั่วโมงแต่แตกต่างกัน ถ้าหากสัปดาห์นั้นมี   
การสอน 2 ครั้ง   ครั้งหนึ่งสอนบรรยายตลอด ครั้งต่อไปควรเปลี่ยนเป็นการอภิปรายหรือฝึกปฏิบัติแทน
   2.2 ใช้แบบผสมแต่เน้นแตกต่างกัน ถ้าใช้วิธีการผสมผสานในแต่ละครั้ง ควรเน้นให้แตกต่างกันในแต่ละครั้งภายใน 1 สัปดาห์
   2.3 ใช้วิธีการต่อเนื่องกัน วิธีนี้นิยมวิธีการสอนแบบเดียวแต่ควรเป็นลักษณะการสอนที่มีความต่อเนื่องกัน เช่น การสอนแบบอภิปราย การสอนแบบให้รายงาน การสอนแบบโครงการสอนแบบฝึกปฏิบัติ เป็นต้น
3.การผสมผสานเป็นรายเดือนและรายภาค
การผสมผสานเป็นรายเดือนและเป็นรายภาคนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก ความสำคัญอยู่ตรงที่ผู้สอนที่ผู้สอนจะกำหนดจุดมุ่งหมายไว้อย่างใด วางแผนการสอนในลักษณะใด ต้องการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อะไรบ้าง สำหรับรูปแบบนั้นมีต่างๆ กันออกไป ในที่นี้จะเสนอตัวอย่าง 3 รูปแบบคือ
   3.1 ให้หลักการและอภิปรายสรุป  การวางแผนการสอนแบบนี้ถือหลักว่า เมื่อผู้เรียนรู้หลักการทฤษฎีดีแล้ว ก็จะอภิปรายหรือไปทำรายงายงานได้ดีขึ้น
   3.2 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนำไปสู่ข้อสรุป รูปแบบนี้ให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง ลงมือทำเองแล้วนำไปสู่ข้อสรุปในภายหลัง
   3.3 ผสมผสานรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน แบบที่สามนี้เป็นอิสระ ไม่มีพื้นฐานหลัก
อะไรผู้สอนจะเลือกแบบต่างๆ ให้มีการผสมผสานกัน เพื่อจุดมุ่งหมายหลายๆ อย่าง และเปลี่ยนบรรยากาศไปในตัวโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยการบรรยาย อภิปราย ฝึกปฏิบัติศึกษาด้วยตนเอง ประกอบกันไป ไม่ควรเป็นอย่างใดอย่างเดียวกันตลอด และควรจะมีการวางแผนอย่างดี อย่าให้ซ้ำซ้อนหรือเปลี่ยนแปลงบ่อยจนเกินไป
ข้อควรคำนึงถึงในการผสมผสานวิธีสอนแบบต่าง ๆ
1.ผู้สอนควรคำนึงถึงจุดประสงค์การสอนเป็นหลักสำคัญ อย่าผสมผสานจนบ่อยเกินไป และอย่าผสมผสานเพียงเพื่อให้มีการสอนหลาย ๆ แบบเท่านั้น
2.ผู้สอนต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียน และของผู้สอนเองด้วย ผู้สอนต้องเข้าใจและมองเห็นภาพการผสมผสานว่าสามารถดำเนินการได้ดีเหมาะสมเพียงไร ส่วนผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนโดยวิธีเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด
3.สถานที่และอุปกรณ์ ก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะการเปลี่ยนวิธีสอนหมายถึงการเปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยนกิจกรรม  อุปกรณ์และสถานที่อาจเปลี่ยนตามไปด้วย
ที่มาของข้อมูล 
www.lamptech.ac.th/webprg/.../news/9วิธีสอนแบบผสมผสาน.doc
ที่มาของภาพ 
http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSJefdozcXX2JDSMwJbVlLKyop2avSb2Y9TyfW-Ko4mghxRIEg&t=1&h=158&w=236&usg=__A9yy7tQcxVjHYI5EXCLaUsEZdtc=
ที่มาของภาพ 
http://www.ras.ac.th/link15/web-design/UNIT2/images/u23.jpg

แหล่งอ้างอิงข้อมูล : http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=5720